วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

       😁 วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร. กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้ในเรื่องการทำสารนิทัศน์และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวมถึงกิจกรรมและเพลงต่างๆ ที่ใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็ก



ความหมาย การใช้หลักฐานข้อมูลหรือเอกสารมาจัดทำเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูนำมาไตร่ตรอง สะท้อนความคิดอย่างมีหลักการจัดองค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพครู
คุณค่า 
- ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ การเตรียมการสอน , การจัดสภาพแวดล้อม
- นำไปพัฒนาไตร่ตรองสะท้อนความคิด นำไปใช้ในการประกันคุณภาพตามมาตรฐานที่ 2 และ 3 
- ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
- เด็กรับรู้คุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้
- ช่วยให้ครูผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน และแสดงบทบาทของครู
  
สมรรถนะ คือ การแสดงศักยภาพตามวัย Can do 
         ศักยภาพ คือ ความสามารถแฝงของเด็ก ครูคือผู้กระตุ้น

รูปแบบการไตรตรองสารนิทัศน์
1. แบบภาพรวม
2. แบบรายบุคคล

กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตรตรองสารนิทัศน์ 
1. ประสบการณืและการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ (สารนิทัศน์)
3. การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผนการไตร่ตรอง
4. การปฏิบัติสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ

กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

➤ ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ  ที่ได้จากการทำโปรเจกต์ทั้ง 3 ระยะ
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก บันทึกพฤติกรรม (บันทึกสั้น)
3. ฟอร์ตฟอริโอ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก
4. ผลงานเด็กเป็นรายบุคคล การวาดภาพ /  ผลงานเด็กเป็นแบบกลุ่มใหญ่
5. การสะท้อนตนเอง

ผลงานกิจกรรมการเขียนสารนิทัศน์สะท้อนตนเอง



บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
1. การใช้จิตวิทยา เช่น การให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดของเด็ก เข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล มีความจริงใจต่อเด็ก ควรชมเชยเด็ก
2. การคิดริเริ่มการจัดกิจกรรม เช่น ให้เด็กสังเกต ให้เด็กเล่นตามความสนใจจัดกิจกรรมทางภาษา ศึกษานอกสถานที่
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก 
4. การใช้เทคนิคคำถามกับเด็ก ได้แก่
    💚 4.1 คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน ถามให้สังเกต ถามให้ทบทวนความจำ ถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ คำถามบ่งชี้
    💚 4.2 คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด ได้แก่  คำถามให้อธิบาย คำถามให้เปรียบเทียบ คำถามให้จำแนก คำถามให้ยกตัวอย่าง คำถามให้สรุป คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ
   
 ประเภทของทักษะการคิด
1. ทักษะการคิดพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงทักษะการคิดสื่อความหมาย เช่น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
2. ทักษะการคิดทั่วไป การสังเกต การสำรวจ
3. ทักษะการคิดระดับสูง  การคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการคิดสร้างสรรค์   1. คิดริเริ่ม  2.คิดยืดหยุ่น   3.คิดคล่องแคล่ว  4.คิดละเอียดลออ

เพลง เสียงร้องสัตว์
แมวของฉันนั้นร้องเสียงดัง เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว...เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว
วัวของฉันนั้นร้องเสียงดัง ม๊อ ม๊อ ม๊อ หม่อ...ม๊อ ม๊อ ม๊อ หม่อ
กบของฉันนั้นร้องเสียงดัง อบ อ๊บ...อบ อ๊บ
ไก่ของฉันนั้นร้องเสียงดัง เอ๊ก อี้ เอก...เอ๊ก อี๊ เอก...เอ๊ก  อี๊เอก
เอ๊ะ!! นั่นใครร้องเพลงให้เราฟัง ซอล ล้า ซอล ฟา มี เร โด

ภาพบรรยากาศการอบรม

การประเมิน (Assessment)

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการอบรมดีมาก ทั้งเวลาและสถานที่มีความเหมาะสม ได้ความรู้เรื่องการเขีนยสารนิทัศน์ เพลง เทคนิคต่างๆมากมาย

ประเมินเพื่อน : มาครบเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนๆที่มาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม ตั้งใจฟังอาจารย์วิทยากรและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่างดี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น