วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

 ⤍ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มเรียน เขียนแผนการสอนแบบ Project  Approach ตามกลุ่มที่ได้จัดไว้ตั้งแต่ต้นเทอม โดยเลือกเรื่องที่นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องเรียน 

  😀 นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มและทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย โดยใช้เทคนิคการระดมความคิด Brainstorming การทำแบบมีส่วนร่วม ด้วยข้อสรุปจากเหตุผลที่อยากรู้ (เพราะบางทีเสียงข้างมากไม่ใช่เหตุผล



ารเรียนรู้แบบ  Project  Approach มี 3 ระยะดังนี้

💛 ระยะที่ 1 เริ่มต้น เด็กๆ เลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้แนะนำ เด็กๆอภิปรายว่ามีความรู้เดิมอะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง และครูช่วยบันทึกความคิดของเด็กๆ เช่น วาดภาพ ปั้น จำลอง ช่วยให้เด็กฝึกตั้งคำถาม และสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้


      - สิ่งที่เด็กอยากรู้ อยากรู้เพราะอะไร สรุปเรื่องที่อยากรู้
      - ถามประสบการณ์เดิม วาดภาพสะท้อนประสบการณ์
      - คำถามที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ


💛 ระยะที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ ช่วยเด็กๆ วางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจมาให้คำตอบเด็กๆได้ ใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลโดยมีครูช่วยเหลือ 
   - เลือกใช้กราฟฟิกที่หลากหลายและเข้าใจง่ายสำหรับเด็ก



💛 ระยะที่ 3 สรุป  เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆ ที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริม และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ
    - แบ่งหน้าที่กันในการแสดงผลงาน

จัดทำสารนิทัศน์ ประเภทที่ 5 


💧 สารนิทัศน์ 5 ประเภท 💧
1. การบันทึก
2.การถ่ายภาพ
3.การทำวิดีโอ
4.การทำไดอะแกรมใยแมงมุม
5.การสะท้อนตนเอง

💙 ผลงานเพื่อน 💙





คำแนะนำจากอาจารย์ในภาพรวมของทุกกลุ่ม
- คำถามที่เด็กอยากรู้อยู่ในขั้นที่ 2 
- สารนิทัศน์ไม่ใช่ขั้นที่ 3 ควรติดแยกให้มีความชัดเจน
- การแบ่งหน้าที่ในระยะที่ 3 ควรเขียนให้มีความชัดเจน ครอบคลุม เข้าใจง่าย
- ไม่ควรติดผลงานเรียงกัน เพราะทำให้ไม่เห็นระยะต่างๆ 
- ไม่ควรใช้สีสะท้อนแสง
- การเขียนบักทึกเด็กหลังจากวาดภาพควรเขียนในระดับเดียวกันหมด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1. นำไปใช้ในการสอบบรรจุ
2.ใช้ในการจัดทำแผนการสอนแบบ  Project  Approach ในอนาคตตอนฝึกสอน
3.ฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผล ทำงานเป็นระเบียบมากขึ้น
4.ทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน
การประเมิน (Assessment)
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาที่จะเรียนและรายละเอียดต่างๆ ได้ครบถ้วน 
พูดคุยสนทนาเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดและการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ฟังใจฟังอาจารย์ กระตือรือร้นในการเรียน มีความสามัคคีร่วมมือกันในการทำงาน


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์  ช่วยเพื่อนทำงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น