วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

💦💦ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)💦💦
อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเตรียมแผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสอนให้พร้อม โดยใช้เวลาคนละ 20 นาที
       👉 วันนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ต่อจากวันจันทร์ที่ได้ทอลองสอนไปบ้างแล้วบางคน



😌😌 การประเมิน (Assessment) 😍😍

ประเมินอาจารย์   :  อาจารย์ให้คำแนะนำดีทุกขั้นตอนการสอน และเป็นประโยชน์กับนักศึกษามากในการนำไปปรับใช้ในอนาคต เทคนิดและวิธีการต่างๆ การสอนและการใช้คำถามกระตุ้นเด็ก อาจารย์ใส่ใจและให้ความสำคัญกับนักศึกษาทุกคน

ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินตนเอง   : เนื่องจากดิฉันไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนในวันนี้


💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚



วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

 😉😉ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)😉😉

อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเตรียมแผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสอนให้พร้อม โดยใช้เวลาคนละ 20 นาที
       👉 วันนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

นางสาวปริชดา นิราศพจรัส    หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
คำแนะนำจากอาจารย์ : ให้เพิ่มกล่องเก็บอุปกรณ์ และให้แกะฉลากสินค้า

นางสาวปวีณา  พันธ์กุล  หน่วย สี
คำแนะนำจากอาจารย์ : ถ้าเรื่องสี ควรบอกที่มาของสีต่างๆ สีเกิดจากอะไร ที่เราเห็นสีเพราะอะไร เช่น สีขาวประกอบไปด้วย 7 สี สีแดงคือ Red แล้วสรุป จากการสอนไม่ใช่การสอนเรื่องสี เป็นการสอนคำศัพท์ การบอกให้จำ

นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา  หน่วย ตัวเรา
คำแนะนำจากอาารย์ : ขั้นนำถ้าเริ่มด้วยเพลง ควรสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลงก่อน และการตัดคำศัพท์บางคำออกให้เด็กเลือกติดต้องค่อยๆตัดออก ไม่ใช้ตัดออกพร้อมกันทุกคำ ถ้ายากเกินไปเด็กอาจจะจำไม่ได้



นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้  หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่
คำแนะนำจากอาารย์ :  ปรับเพลงให้สั้นลง ควรใส่ภาพให้มากกว่าตัวหนังสือ จะสามารถกระตุ้นความสนใจเด็กได้มากกว่า ขั้นนำหลังจากที่ร้องเพลงควรสนทนาเนื้อหาในเพลง ถามคำถามเด็ก เช่น หมู่ที่ 5 ไขมันนอกจากที่กระดาษมีไขมันจากที่ไหนบ้าง ไขมันจากอะไรบ้างที่เด็กรู้จัก ในชาร์ตที่ 2 การให้ข้อมูลเรื่องอาหารหลัก 5  หมู่ ควรทำที่ละหมู่เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น และเขียนข้อความเพิ่มเติมว่าแต่ละหมู่ให้สารอาหารอะไร 

นางสาวรุ่งฤดี  โสดา   หน่วย กลางวันกลางคืน
คำแนะนำจากอาารย์ : ฝึกการร้องเพลงมากขึ้น และเลือกเพลงที่เข้ากับเนื้อหาในหน่วยนั้นๆ หรือใช้การแปรงเพลงจากทำนองที่คุ้นเคย

นางสาววัชรา ค้าสุกร  หน่วย ของ เล่นของใช้
คำแนะนำจากอาารย์ : หาเพลงที่เข้ากับเนื้อหาหรือหน่วยการสอน 

นางสาวสุพรทิพย์ ดำขำ  หน่วย เราขาคณิต
คำแนะนำจากอาารย์ : ควรสรุปเป็นความคิดรวบยอดให้เด็กได้เข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในตอนท้าย

นางสาวอินทิรา  หมึกสี  หน่วย ผลไม้ 
คำแนะนำจากอาารย์ : ควรแจกผลไม้ทีละชนิด อย่าแจกพร้อมกันอาจจะทำให้เกิดความวุ่นวาย เช่น 
รอบแรกแจกองุ่นให้เด็กสำรวจ ชิม องุ่นให้เสร็จก่อน ต่อมาค่อยแจกส้ม ตารางการเปรียบเทียบต้องเรียงใหม่ เช่น สี รูปทรง ผิวเปลือก กลิ่น ส่วนประกอบต้างมาก่อน แล้วตามด้วยรสชาติ

นางสาวณัฐชา  บุญทอง  หน่วย สัตว์บก สัตว์น้ำ
คำแนะนำจากอาารย์ : ฝึกการร้องเพลงหรือคำคล้องจองที่ได้นำมา ถามให้เด็กได้คิดว่านอกจากสัตว์ที่อยู่ในชาร์ตมีสัตว์อะไรอีกบ้างที่เด็กรู้จัก ต้องต่อเติมประสบการณ์ของเด็กด้วยคำถาม

นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์   หน่วย วันปีใหม่
คำแนะนำจากอาารย์ : เพลงที่นำมาไม่เชื่อมโยงกับเรื่องที่สอน ควรทำชาร์ตหรือตารางให้เด็กได้มีส่วน
ร่วมมากขึ้น

👴👴 การประเมิน (Assessment) 👵👵

ประเมินอาจารย์   :  อาจารย์ให้คำแนะนำดีทุกขั้นตอนการสอน และเป็นประโยชน์กับนักศึกษามากในการนำไปปรับใช้ในอนาคต เทคนิดและวิธีการต่างๆ การสอนและการใช้คำถามกระตุ้นเด็ก อาจารย์ใส่ใจและให้ความสำคัญกับนักศึกษาทุกคน

ประเมินเพื่อน     : เพื่อนๆ เข้าเรียนครบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการสอนของเพื่อน ไม่คุยกัน


💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚



วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.


👀👀 ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)  👀👀

       👉 กรวยแห่งการเรียนรู้
       👉 ทักษะใน EF 
       👉 การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปที่ส่งเสริมทักษะ EF 
       👉 บทบาทของครูตามแนวคิดไฮสโคป


👉 กรวยแห่งการเรียนรู้
     กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า 
                                      👄 → อ่านอย่างเดียว   10 %
                                       👂 → ฟัง    20 %
                                      👀 → ดู      30 %
                                      👀👂 → ดูและฟัง   50 %  
                                      👄 → พูด          70 %
                                      👄👏 → พูดและทำ      90 %

👉 ทักษะใน EF 

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

 👉 การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปที่ส่งเสริมทักษะ EF 
                       1. ความจำ  ➤ ไฮสโคปมีสื่อที่หลากหลาย ให้เด็กได้เลือกและตัดสินใจด้วย                                                       ตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
                       2. คิดไตร่ตรอง   ➤ ช่วงการวางแผน Plan
                       3. คิดยืดหยุ่น   ➤  ช่วงการทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่กลุ่มย่อย กิจกรรมตามมุม
                       4. จดจ่อใส่ใจ   ➤  การลงมือทำ Do
                       5. ควบคุมอารมณ์   ➤  การมีปฏิสัมพันธ์ในกิจวัตรประจำวัน
                       6. ติดตามประเมินผล   ➤  การนำเสนองาน Reviwe
                       7. ริเริ่มลงมือ   ➤  Do
                       8. วางแผนจัดระเบียบ   ➤  Plan
                       9. มุ่งสู่เป้าหมาย   ➤ Plan   Do   Reviwe


👉 บทบาทของครูตามแนวคิดไฮสโคป

             Plan      นักพูด ถ้าเด็กไม่พูดในช่วง Plan ว่าจะวาดหรือทำอะไรให้พาเดินสำรวจไม่  แทรกแซงทางความคิด
             Do         นักสังเกต
             Reviwe  ผู้ฟังที่ดี


😀😀 การประเมิน (Assessment) 😀😀

ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาและสั่งงานระเอียดเข้าใจง่าย พูดคุยกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง หลังจากที่ทอลองสอนอาจารย์ได้ให้คำแนะนำซึ่งเป็นประโยชน์มากในการนำไปใช้ในอนาคต

ประเมินเพื่อน    เข้าเรียนตรงเวลา มาครบทุกคน ไม่คุยกัน ตั้งใจฟังอาจารนย์สอน


ประเมินตนเอง   มาเรียนตรงเวลา  ส่งงานครบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องและกิจกรรมกลุ่มดีค่ะ



😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

💛💛 ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject) 💛💛

    👉 อาจารย์ถามทบทวนเรื่องการทำงานของสมอง ตามแนวคิดของเพียเจย์ ทักษะEF และนวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป  


   👉 เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือที่เรียกว่าการเล่น ทำให้สมองเกิดการซึมซับ ปรับเป็นความรู้ใหม่ ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรคือการเรียนรู้ แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเรียกว่าการรับรู้
   👉เมื่อทราบถึงการทำงานของสองแล้วว่าสมองทำงานอย่างไร จึงสามารถนำมาจัดและออกแบบการจัดประสลการณ์ให้สมตามช่วงวัยของพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม ตามที่กำหนดในหลักสูตร คือ สภาพที่พึงประสงค์เป็นเป้าหมาย และวัดตามพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา
   👉 กิจกรรมศิลปะจัดคู่กับกิจกรรมเสรี เพราะเราไม่ควรเร่งรัดเด็กในการทำงานศิลปะ เด็กที่ทำเสร็จให้เล่นกิจกรรมเสรีตามมุมระหว่างรอเพื่อน
   👉 การจัดพื้นที่ 5 ส่วน ตามแนวคิดไฮสโคป 
1. พื้นที่ครู
2. พื้นที่เก็บผลงานเด็ก
3. พื้นที่ในการจัดประสบการณ์กลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
4. พื้นที่มุมจัดประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 5 มุม
      1. มุมศิลปะ
      2. มุมหนังสือ
      3. มุมบล็อก
      4. มุมบทบาทสมมติ
      5. มุมของเล่น
5. พื้นที่การมีปฏิสัมพันธ์หรือพื้นที่แสดงผลงาน ทำให้เด็กได้แสดงผลงาน พูดคุย สนทนากับครู ผู้ปกครอง

      👉 หลังจากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน ฝึกการฟังจังหวะเพลง โดยการให้เพื่อนคนหนึ่งเข้าไปยืนในวงกลม ถ้าเพลงเปลี่ยนจังหวะให้หยุดตรงหน้าเพื่อน ทำท่าอะไรก็ได้ให้เพื่อนคนนั้นทำตามแล้วต่อแถวกันไปเรื่อยๆ 
     เป็นการนำจังหวะและดนตรีเข้ามาใช้เพื่อฝึกทักษะความจำและการดึงความจำไปใช้งาน เมื่อจังหวะเปลี่ยนเด็กจะต้องเปลียนท่าทาง เรียกว่า Working memory เป็นทักษะ 1 ใน EF


การประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง : แต่งกายมีระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังฟังอาจารย์ไม่คุย และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ มาเรียนครบ ให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียน

ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ อาจารย์อธิบายเข้าใจ มีการยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆใกล้ตัว นำกิจกรรมต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการสอน



วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

       😁 วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร. กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้ในเรื่องการทำสารนิทัศน์และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวมถึงกิจกรรมและเพลงต่างๆ ที่ใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็ก



ความหมาย การใช้หลักฐานข้อมูลหรือเอกสารมาจัดทำเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูนำมาไตร่ตรอง สะท้อนความคิดอย่างมีหลักการจัดองค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพครู
คุณค่า 
- ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ การเตรียมการสอน , การจัดสภาพแวดล้อม
- นำไปพัฒนาไตร่ตรองสะท้อนความคิด นำไปใช้ในการประกันคุณภาพตามมาตรฐานที่ 2 และ 3 
- ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
- เด็กรับรู้คุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้
- ช่วยให้ครูผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน และแสดงบทบาทของครู
  
สมรรถนะ คือ การแสดงศักยภาพตามวัย Can do 
         ศักยภาพ คือ ความสามารถแฝงของเด็ก ครูคือผู้กระตุ้น

รูปแบบการไตรตรองสารนิทัศน์
1. แบบภาพรวม
2. แบบรายบุคคล

กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตรตรองสารนิทัศน์ 
1. ประสบการณืและการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ (สารนิทัศน์)
3. การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผนการไตร่ตรอง
4. การปฏิบัติสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ

กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

➤ ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ  ที่ได้จากการทำโปรเจกต์ทั้ง 3 ระยะ
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก บันทึกพฤติกรรม (บันทึกสั้น)
3. ฟอร์ตฟอริโอ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก
4. ผลงานเด็กเป็นรายบุคคล การวาดภาพ /  ผลงานเด็กเป็นแบบกลุ่มใหญ่
5. การสะท้อนตนเอง

ผลงานกิจกรรมการเขียนสารนิทัศน์สะท้อนตนเอง



บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
1. การใช้จิตวิทยา เช่น การให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดของเด็ก เข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล มีความจริงใจต่อเด็ก ควรชมเชยเด็ก
2. การคิดริเริ่มการจัดกิจกรรม เช่น ให้เด็กสังเกต ให้เด็กเล่นตามความสนใจจัดกิจกรรมทางภาษา ศึกษานอกสถานที่
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก 
4. การใช้เทคนิคคำถามกับเด็ก ได้แก่
    💚 4.1 คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน ถามให้สังเกต ถามให้ทบทวนความจำ ถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ คำถามบ่งชี้
    💚 4.2 คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด ได้แก่  คำถามให้อธิบาย คำถามให้เปรียบเทียบ คำถามให้จำแนก คำถามให้ยกตัวอย่าง คำถามให้สรุป คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ
   
 ประเภทของทักษะการคิด
1. ทักษะการคิดพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงทักษะการคิดสื่อความหมาย เช่น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
2. ทักษะการคิดทั่วไป การสังเกต การสำรวจ
3. ทักษะการคิดระดับสูง  การคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการคิดสร้างสรรค์   1. คิดริเริ่ม  2.คิดยืดหยุ่น   3.คิดคล่องแคล่ว  4.คิดละเอียดลออ

เพลง เสียงร้องสัตว์
แมวของฉันนั้นร้องเสียงดัง เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว...เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว
วัวของฉันนั้นร้องเสียงดัง ม๊อ ม๊อ ม๊อ หม่อ...ม๊อ ม๊อ ม๊อ หม่อ
กบของฉันนั้นร้องเสียงดัง อบ อ๊บ...อบ อ๊บ
ไก่ของฉันนั้นร้องเสียงดัง เอ๊ก อี้ เอก...เอ๊ก อี๊ เอก...เอ๊ก  อี๊เอก
เอ๊ะ!! นั่นใครร้องเพลงให้เราฟัง ซอล ล้า ซอล ฟา มี เร โด

ภาพบรรยากาศการอบรม

การประเมิน (Assessment)

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการอบรมดีมาก ทั้งเวลาและสถานที่มีความเหมาะสม ได้ความรู้เรื่องการเขีนยสารนิทัศน์ เพลง เทคนิคต่างๆมากมาย

ประเมินเพื่อน : มาครบเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนๆที่มาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม ตั้งใจฟังอาจารย์วิทยากรและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่างดี






วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

       😉  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ศึกษาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยมีวิธีการเขียนแผน ดังต่อไปนี้
1. เลือกเรื่องที่จะสอน ➠ โดยศึกษาได้จากหลักสูตร
2. วิเคราะห์หัวเรื่อง  ➠ โดยใช้ mind map เป็นเครื่องมือในการแสดงผลที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
3. จัดลำดับความสำคัญก่อน - หลัง
4. ออกแบบการจัดประสบการณ์
5. ตั้งวัตถุประสงค์ / จุดประสงค์
6. สาระการเรียนรู้  2 ส่วน คือ  
     1. ประสบการณ์สำคัญ 4 ด้าน คือการให้เด็กเล่นและลงมือทำ 
     2.สาระที่ควรเรียนรู้ ต้องบูรณาการด้วยกันทั้ง 4 ด้านไม่แยก สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ไปสู่การจัดประสบการณ์ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล / ความฉลาด 8 ด้าน  ➠ 6 กิจกรรมหลัก

เน้น ➠ การเคลื่อนไหวร่างกาย   ภาษา , ความคิด  ➠ เป็นด้านสติปัญญา
การกระทำอย่างอิสระ ตัดสินใจเอง ➠ คือด้านอารมณ์ - จิตใจ 
การเล่นคนกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ➠ เป็นด้านสังคม


➤พัฒนาการของเด็กอนุบาล 3 อายุ 5-6 ขวบ  มีพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น เริ่มเล่นกับเพื่อนได้ เล่นคนเดียว เล่นคู่ขนาน เล่นเป็นกลุ่ม
➤การทำศิลปะแบบร่วมมือ เหมาะสำหรับเด็ก 4-5 ปี อ.2 และ อ. 3 ทำให้เด็กได้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ การรับฟังเหตุผล
1. เกมแบบผลัด  คือ มีจุดตั้งต้นและจุดวกกลับ เล่นแบบเดียวกันทั้งหมด มีกติกาแพ้ชนะ
2. เกมเบ็ดเตล็ด คือเกมทั่วไป เช่น มอญซ่อนผ้า กาฟักไข่ งูกินหาง
ครูต้องสาธิตให้เด็กดูก่อน การสาธิตไม่ใช่การเล่นอิสระ  การเล่นอิสระ คือ การเล่นเครื่องเล่นสนาม

💚 เกมการศึกษา 💛
1. เกมลอตโต้ เกมการศึกษารายละเอียดในภาพ
2. เกมการจับคู่ ภาพเงา ภาพเหมือน
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ เล็กใหญ่ น้อยมาก พื้นฐานการบวก
6. เกมความสัมพันธ์ ภาพที่สัมพันธ์กัน
7. เกมอนุกรม
8. เกมจัดหมวดหมู่
9. เกมความสัมพันธ์ 2 แกน  

        ➽ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ออกแบบการสอนเรื่องแหล่งน้ำ
ให้นักศึกษาช่วยกันวาดรูปแหล่งน้ำที่ทุกคนมองแล้วเข้าใจตรงกันสามารถตอบได้ว่าคือแหล่งน้ำอะไร ที่ไหน
สะพานโกลเด้นเกตที่อ่าวซานฟรานซิโก 

แม่น้ำชีที่จังหวัดชัยภูมิ

      ➨ จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันประกอบเครื่องสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่ตนเองวาดภาพขึ้นมา โดยมีอุปกรณ์  3 อย่างคือ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษA4 เทปกาว แต่ละกลุ่มต้องทำเครื่องสูบน้ำที่แข็งแรงสามารถตั้งได้ และสูบน้ำได้มากที่สุด โดยอาจารย์ให้นำหนังสือและพานมาวางเพื่อทดสอบความแข็งแรง 
    ➤ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการประยุกต์การใช้รูปแบบการสอนแบบ STEM ศึกษาเข้ามาบูรณาการในการจัดการสอน คือการให้เด็กฝึกคิดแก้ไขปัญหาและออกแบบนวัตกรรม



       ➨ จากนั้นอาจารย์ให้อุปกรณ์มาเพิ่มคือ หลอดดูดน้ำ และลูกปิงปอง เพื่อให้นักศึกษาออกแบบสไลเดอร์ที่ลูกปิงปองตกช้าที่สุด โดยกลุ่มของดิฉันนานสุด คือ  34 วินาที





💜 การตั้งเกณฑ์ น้ำจืด/น้ำเค็ม  แหล่งน้ำในประเทศ /แหล่งน้ำต่างประเทศ  แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น/ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
💜 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ขั้นนำสามารถเริ่มต้นด้วยเพลง คำคล้องจอง นิทาน ปริศนาคำทาย เกม คำถาม  เพื่อทบทวนประสบการณ์ของเด็กก่อนการเข้าสู่เรียนที่จะเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
1. ได้รู้จักเกมการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้นและรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะตามพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ไม่รู้สึกเบื่อ หรือหากเกมยากไปก็จะได้ปรับให้เข้ากับพัฒนาการของเด็ก

2. รู้จักการประยุกต์ใช้การสอนแบบ STEM ศึกษาในการสอนกับระดับปฐมวัย จากเรื่องที่ง่ายๆ และใกล้ตัวจากสิ่งของที่มีอยู่ เช่น หลอด ลูกปองปอง การประดิษฐ์สิ่งต่างๆ โดยมีจุดประสงค์คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดและการแก้ปัญหา
3. เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว เช่นกระดาษหนังสือพิมพ์
4. ฝึกการคิดแก้ไขปัญหาและรับฟังความคิดของเพื่อน เลือกวิธีที่ดีที่สุด
5. มีความสนุกสนานเมื่อทำงานสำเร็จ มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และรู้จักชื่นชมผลงานของตนเองลแะผู้อื่นโดยใช้คำพูดและการแสดงออกเชิงบวก

การประเมิน (Assessment)
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนมีความตรงต่อเวลา แตงกายสุภาพเหมาะสม อาจารย์ได้มีการประยุกต์วิธีการสอนแบบต่างๆ เช่น STEM มาบูรณาการกับการสอนปฐมวัยใช้สื่ออุปกรณ์ใกล้ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเรื่องที่สอนมากขึ้น ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์ได้มีการเสริมเนื้อหาสาระเรื่องต่างๆ สอดแทรกพร้อมกันด้วย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แต่วันนี้มาไม่ครบ ทำให้แบ่งกลุ่มได้เพียง 3 กลุ่ม แต่เพื่อนที่มาเรียนตั้งใจเรียนทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำงาน ระดมความคิดแก้ปัญหาและนำเสนองานออกมาดีทุกกลุ่ม


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสะอาด เหมาะสม ให้ความร่วมมือนการเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ในกลุ่มและช่วยการทำงานส่งอาจารย์