วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

💦💦ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)💦💦
อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเตรียมแผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสอนให้พร้อม โดยใช้เวลาคนละ 20 นาที
       👉 วันนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ต่อจากวันจันทร์ที่ได้ทอลองสอนไปบ้างแล้วบางคน



😌😌 การประเมิน (Assessment) 😍😍

ประเมินอาจารย์   :  อาจารย์ให้คำแนะนำดีทุกขั้นตอนการสอน และเป็นประโยชน์กับนักศึกษามากในการนำไปปรับใช้ในอนาคต เทคนิดและวิธีการต่างๆ การสอนและการใช้คำถามกระตุ้นเด็ก อาจารย์ใส่ใจและให้ความสำคัญกับนักศึกษาทุกคน

ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินตนเอง   : เนื่องจากดิฉันไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนในวันนี้


💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚



วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

 😉😉ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)😉😉

อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเตรียมแผนการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสอนให้พร้อม โดยใช้เวลาคนละ 20 นาที
       👉 วันนี้เป็นการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

นางสาวปริชดา นิราศพจรัส    หน่วยอาหารดีมีประโยชน์
คำแนะนำจากอาจารย์ : ให้เพิ่มกล่องเก็บอุปกรณ์ และให้แกะฉลากสินค้า

นางสาวปวีณา  พันธ์กุล  หน่วย สี
คำแนะนำจากอาจารย์ : ถ้าเรื่องสี ควรบอกที่มาของสีต่างๆ สีเกิดจากอะไร ที่เราเห็นสีเพราะอะไร เช่น สีขาวประกอบไปด้วย 7 สี สีแดงคือ Red แล้วสรุป จากการสอนไม่ใช่การสอนเรื่องสี เป็นการสอนคำศัพท์ การบอกให้จำ

นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา  หน่วย ตัวเรา
คำแนะนำจากอาารย์ : ขั้นนำถ้าเริ่มด้วยเพลง ควรสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในเพลงก่อน และการตัดคำศัพท์บางคำออกให้เด็กเลือกติดต้องค่อยๆตัดออก ไม่ใช้ตัดออกพร้อมกันทุกคำ ถ้ายากเกินไปเด็กอาจจะจำไม่ได้



นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้  หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่
คำแนะนำจากอาารย์ :  ปรับเพลงให้สั้นลง ควรใส่ภาพให้มากกว่าตัวหนังสือ จะสามารถกระตุ้นความสนใจเด็กได้มากกว่า ขั้นนำหลังจากที่ร้องเพลงควรสนทนาเนื้อหาในเพลง ถามคำถามเด็ก เช่น หมู่ที่ 5 ไขมันนอกจากที่กระดาษมีไขมันจากที่ไหนบ้าง ไขมันจากอะไรบ้างที่เด็กรู้จัก ในชาร์ตที่ 2 การให้ข้อมูลเรื่องอาหารหลัก 5  หมู่ ควรทำที่ละหมู่เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น และเขียนข้อความเพิ่มเติมว่าแต่ละหมู่ให้สารอาหารอะไร 

นางสาวรุ่งฤดี  โสดา   หน่วย กลางวันกลางคืน
คำแนะนำจากอาารย์ : ฝึกการร้องเพลงมากขึ้น และเลือกเพลงที่เข้ากับเนื้อหาในหน่วยนั้นๆ หรือใช้การแปรงเพลงจากทำนองที่คุ้นเคย

นางสาววัชรา ค้าสุกร  หน่วย ของ เล่นของใช้
คำแนะนำจากอาารย์ : หาเพลงที่เข้ากับเนื้อหาหรือหน่วยการสอน 

นางสาวสุพรทิพย์ ดำขำ  หน่วย เราขาคณิต
คำแนะนำจากอาารย์ : ควรสรุปเป็นความคิดรวบยอดให้เด็กได้เข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในตอนท้าย

นางสาวอินทิรา  หมึกสี  หน่วย ผลไม้ 
คำแนะนำจากอาารย์ : ควรแจกผลไม้ทีละชนิด อย่าแจกพร้อมกันอาจจะทำให้เกิดความวุ่นวาย เช่น 
รอบแรกแจกองุ่นให้เด็กสำรวจ ชิม องุ่นให้เสร็จก่อน ต่อมาค่อยแจกส้ม ตารางการเปรียบเทียบต้องเรียงใหม่ เช่น สี รูปทรง ผิวเปลือก กลิ่น ส่วนประกอบต้างมาก่อน แล้วตามด้วยรสชาติ

นางสาวณัฐชา  บุญทอง  หน่วย สัตว์บก สัตว์น้ำ
คำแนะนำจากอาารย์ : ฝึกการร้องเพลงหรือคำคล้องจองที่ได้นำมา ถามให้เด็กได้คิดว่านอกจากสัตว์ที่อยู่ในชาร์ตมีสัตว์อะไรอีกบ้างที่เด็กรู้จัก ต้องต่อเติมประสบการณ์ของเด็กด้วยคำถาม

นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์   หน่วย วันปีใหม่
คำแนะนำจากอาารย์ : เพลงที่นำมาไม่เชื่อมโยงกับเรื่องที่สอน ควรทำชาร์ตหรือตารางให้เด็กได้มีส่วน
ร่วมมากขึ้น

👴👴 การประเมิน (Assessment) 👵👵

ประเมินอาจารย์   :  อาจารย์ให้คำแนะนำดีทุกขั้นตอนการสอน และเป็นประโยชน์กับนักศึกษามากในการนำไปปรับใช้ในอนาคต เทคนิดและวิธีการต่างๆ การสอนและการใช้คำถามกระตุ้นเด็ก อาจารย์ใส่ใจและให้ความสำคัญกับนักศึกษาทุกคน

ประเมินเพื่อน     : เพื่อนๆ เข้าเรียนครบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม


ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการสอนของเพื่อน ไม่คุยกัน


💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚



วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.


👀👀 ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)  👀👀

       👉 กรวยแห่งการเรียนรู้
       👉 ทักษะใน EF 
       👉 การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปที่ส่งเสริมทักษะ EF 
       👉 บทบาทของครูตามแนวคิดไฮสโคป


👉 กรวยแห่งการเรียนรู้
     กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า 
                                      👄 → อ่านอย่างเดียว   10 %
                                       👂 → ฟัง    20 %
                                      👀 → ดู      30 %
                                      👀👂 → ดูและฟัง   50 %  
                                      👄 → พูด          70 %
                                      👄👏 → พูดและทำ      90 %

👉 ทักษะใน EF 

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

 👉 การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปที่ส่งเสริมทักษะ EF 
                       1. ความจำ  ➤ ไฮสโคปมีสื่อที่หลากหลาย ให้เด็กได้เลือกและตัดสินใจด้วย                                                       ตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
                       2. คิดไตร่ตรอง   ➤ ช่วงการวางแผน Plan
                       3. คิดยืดหยุ่น   ➤  ช่วงการทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่กลุ่มย่อย กิจกรรมตามมุม
                       4. จดจ่อใส่ใจ   ➤  การลงมือทำ Do
                       5. ควบคุมอารมณ์   ➤  การมีปฏิสัมพันธ์ในกิจวัตรประจำวัน
                       6. ติดตามประเมินผล   ➤  การนำเสนองาน Reviwe
                       7. ริเริ่มลงมือ   ➤  Do
                       8. วางแผนจัดระเบียบ   ➤  Plan
                       9. มุ่งสู่เป้าหมาย   ➤ Plan   Do   Reviwe


👉 บทบาทของครูตามแนวคิดไฮสโคป

             Plan      นักพูด ถ้าเด็กไม่พูดในช่วง Plan ว่าจะวาดหรือทำอะไรให้พาเดินสำรวจไม่  แทรกแซงทางความคิด
             Do         นักสังเกต
             Reviwe  ผู้ฟังที่ดี


😀😀 การประเมิน (Assessment) 😀😀

ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาและสั่งงานระเอียดเข้าใจง่าย พูดคุยกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง หลังจากที่ทอลองสอนอาจารย์ได้ให้คำแนะนำซึ่งเป็นประโยชน์มากในการนำไปใช้ในอนาคต

ประเมินเพื่อน    เข้าเรียนตรงเวลา มาครบทุกคน ไม่คุยกัน ตั้งใจฟังอาจารนย์สอน


ประเมินตนเอง   มาเรียนตรงเวลา  ส่งงานครบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องและกิจกรรมกลุ่มดีค่ะ



😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜😜

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

💛💛 ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject) 💛💛

    👉 อาจารย์ถามทบทวนเรื่องการทำงานของสมอง ตามแนวคิดของเพียเจย์ ทักษะEF และนวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป  


   👉 เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือที่เรียกว่าการเล่น ทำให้สมองเกิดการซึมซับ ปรับเป็นความรู้ใหม่ ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรคือการเรียนรู้ แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเรียกว่าการรับรู้
   👉เมื่อทราบถึงการทำงานของสองแล้วว่าสมองทำงานอย่างไร จึงสามารถนำมาจัดและออกแบบการจัดประสลการณ์ให้สมตามช่วงวัยของพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม ตามที่กำหนดในหลักสูตร คือ สภาพที่พึงประสงค์เป็นเป้าหมาย และวัดตามพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา
   👉 กิจกรรมศิลปะจัดคู่กับกิจกรรมเสรี เพราะเราไม่ควรเร่งรัดเด็กในการทำงานศิลปะ เด็กที่ทำเสร็จให้เล่นกิจกรรมเสรีตามมุมระหว่างรอเพื่อน
   👉 การจัดพื้นที่ 5 ส่วน ตามแนวคิดไฮสโคป 
1. พื้นที่ครู
2. พื้นที่เก็บผลงานเด็ก
3. พื้นที่ในการจัดประสบการณ์กลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
4. พื้นที่มุมจัดประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 5 มุม
      1. มุมศิลปะ
      2. มุมหนังสือ
      3. มุมบล็อก
      4. มุมบทบาทสมมติ
      5. มุมของเล่น
5. พื้นที่การมีปฏิสัมพันธ์หรือพื้นที่แสดงผลงาน ทำให้เด็กได้แสดงผลงาน พูดคุย สนทนากับครู ผู้ปกครอง

      👉 หลังจากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน ฝึกการฟังจังหวะเพลง โดยการให้เพื่อนคนหนึ่งเข้าไปยืนในวงกลม ถ้าเพลงเปลี่ยนจังหวะให้หยุดตรงหน้าเพื่อน ทำท่าอะไรก็ได้ให้เพื่อนคนนั้นทำตามแล้วต่อแถวกันไปเรื่อยๆ 
     เป็นการนำจังหวะและดนตรีเข้ามาใช้เพื่อฝึกทักษะความจำและการดึงความจำไปใช้งาน เมื่อจังหวะเปลี่ยนเด็กจะต้องเปลียนท่าทาง เรียกว่า Working memory เป็นทักษะ 1 ใน EF


การประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง : แต่งกายมีระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังฟังอาจารย์ไม่คุย และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ มาเรียนครบ ให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียน

ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ อาจารย์อธิบายเข้าใจ มีการยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆใกล้ตัว นำกิจกรรมต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการสอน