วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

       😁 วันนี้อาจารย์ได้เชิญวิทยากร ผศ.ดร. กรรณิการ์ สุสม มาให้ความรู้ในเรื่องการทำสารนิทัศน์และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวมถึงกิจกรรมและเพลงต่างๆ ที่ใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็ก



ความหมาย การใช้หลักฐานข้อมูลหรือเอกสารมาจัดทำเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูนำมาไตร่ตรอง สะท้อนความคิดอย่างมีหลักการจัดองค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพครู
คุณค่า 
- ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ การเตรียมการสอน , การจัดสภาพแวดล้อม
- นำไปพัฒนาไตร่ตรองสะท้อนความคิด นำไปใช้ในการประกันคุณภาพตามมาตรฐานที่ 2 และ 3 
- ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
- เด็กรับรู้คุณค่าและความสำคัญของการเรียนรู้
- ช่วยให้ครูผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน และแสดงบทบาทของครู
  
สมรรถนะ คือ การแสดงศักยภาพตามวัย Can do 
         ศักยภาพ คือ ความสามารถแฝงของเด็ก ครูคือผู้กระตุ้น

รูปแบบการไตรตรองสารนิทัศน์
1. แบบภาพรวม
2. แบบรายบุคคล

กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตรตรองสารนิทัศน์ 
1. ประสบการณืและการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ (สารนิทัศน์)
3. การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผนการไตร่ตรอง
4. การปฏิบัติสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ

กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

➤ ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ  ที่ได้จากการทำโปรเจกต์ทั้ง 3 ระยะ
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก บันทึกพฤติกรรม (บันทึกสั้น)
3. ฟอร์ตฟอริโอ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก
4. ผลงานเด็กเป็นรายบุคคล การวาดภาพ /  ผลงานเด็กเป็นแบบกลุ่มใหญ่
5. การสะท้อนตนเอง

ผลงานกิจกรรมการเขียนสารนิทัศน์สะท้อนตนเอง



บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
1. การใช้จิตวิทยา เช่น การให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดของเด็ก เข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล มีความจริงใจต่อเด็ก ควรชมเชยเด็ก
2. การคิดริเริ่มการจัดกิจกรรม เช่น ให้เด็กสังเกต ให้เด็กเล่นตามความสนใจจัดกิจกรรมทางภาษา ศึกษานอกสถานที่
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก 
4. การใช้เทคนิคคำถามกับเด็ก ได้แก่
    💚 4.1 คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน ถามให้สังเกต ถามให้ทบทวนความจำ ถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ คำถามบ่งชี้
    💚 4.2 คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด ได้แก่  คำถามให้อธิบาย คำถามให้เปรียบเทียบ คำถามให้จำแนก คำถามให้ยกตัวอย่าง คำถามให้สรุป คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ
   
 ประเภทของทักษะการคิด
1. ทักษะการคิดพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงทักษะการคิดสื่อความหมาย เช่น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
2. ทักษะการคิดทั่วไป การสังเกต การสำรวจ
3. ทักษะการคิดระดับสูง  การคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการคิดสร้างสรรค์   1. คิดริเริ่ม  2.คิดยืดหยุ่น   3.คิดคล่องแคล่ว  4.คิดละเอียดลออ

เพลง เสียงร้องสัตว์
แมวของฉันนั้นร้องเสียงดัง เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว...เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว
วัวของฉันนั้นร้องเสียงดัง ม๊อ ม๊อ ม๊อ หม่อ...ม๊อ ม๊อ ม๊อ หม่อ
กบของฉันนั้นร้องเสียงดัง อบ อ๊บ...อบ อ๊บ
ไก่ของฉันนั้นร้องเสียงดัง เอ๊ก อี้ เอก...เอ๊ก อี๊ เอก...เอ๊ก  อี๊เอก
เอ๊ะ!! นั่นใครร้องเพลงให้เราฟัง ซอล ล้า ซอล ฟา มี เร โด

ภาพบรรยากาศการอบรม

การประเมิน (Assessment)

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการอบรมดีมาก ทั้งเวลาและสถานที่มีความเหมาะสม ได้ความรู้เรื่องการเขีนยสารนิทัศน์ เพลง เทคนิคต่างๆมากมาย

ประเมินเพื่อน : มาครบเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนๆที่มาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม ตั้งใจฟังอาจารย์วิทยากรและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกอย่างดี






วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

       😉  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ศึกษาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยมีวิธีการเขียนแผน ดังต่อไปนี้
1. เลือกเรื่องที่จะสอน ➠ โดยศึกษาได้จากหลักสูตร
2. วิเคราะห์หัวเรื่อง  ➠ โดยใช้ mind map เป็นเครื่องมือในการแสดงผลที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
3. จัดลำดับความสำคัญก่อน - หลัง
4. ออกแบบการจัดประสบการณ์
5. ตั้งวัตถุประสงค์ / จุดประสงค์
6. สาระการเรียนรู้  2 ส่วน คือ  
     1. ประสบการณ์สำคัญ 4 ด้าน คือการให้เด็กเล่นและลงมือทำ 
     2.สาระที่ควรเรียนรู้ ต้องบูรณาการด้วยกันทั้ง 4 ด้านไม่แยก สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ไปสู่การจัดประสบการณ์ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล / ความฉลาด 8 ด้าน  ➠ 6 กิจกรรมหลัก

เน้น ➠ การเคลื่อนไหวร่างกาย   ภาษา , ความคิด  ➠ เป็นด้านสติปัญญา
การกระทำอย่างอิสระ ตัดสินใจเอง ➠ คือด้านอารมณ์ - จิตใจ 
การเล่นคนกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ➠ เป็นด้านสังคม


➤พัฒนาการของเด็กอนุบาล 3 อายุ 5-6 ขวบ  มีพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น เริ่มเล่นกับเพื่อนได้ เล่นคนเดียว เล่นคู่ขนาน เล่นเป็นกลุ่ม
➤การทำศิลปะแบบร่วมมือ เหมาะสำหรับเด็ก 4-5 ปี อ.2 และ อ. 3 ทำให้เด็กได้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ การรับฟังเหตุผล
1. เกมแบบผลัด  คือ มีจุดตั้งต้นและจุดวกกลับ เล่นแบบเดียวกันทั้งหมด มีกติกาแพ้ชนะ
2. เกมเบ็ดเตล็ด คือเกมทั่วไป เช่น มอญซ่อนผ้า กาฟักไข่ งูกินหาง
ครูต้องสาธิตให้เด็กดูก่อน การสาธิตไม่ใช่การเล่นอิสระ  การเล่นอิสระ คือ การเล่นเครื่องเล่นสนาม

💚 เกมการศึกษา 💛
1. เกมลอตโต้ เกมการศึกษารายละเอียดในภาพ
2. เกมการจับคู่ ภาพเงา ภาพเหมือน
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ เล็กใหญ่ น้อยมาก พื้นฐานการบวก
6. เกมความสัมพันธ์ ภาพที่สัมพันธ์กัน
7. เกมอนุกรม
8. เกมจัดหมวดหมู่
9. เกมความสัมพันธ์ 2 แกน  

        ➽ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ออกแบบการสอนเรื่องแหล่งน้ำ
ให้นักศึกษาช่วยกันวาดรูปแหล่งน้ำที่ทุกคนมองแล้วเข้าใจตรงกันสามารถตอบได้ว่าคือแหล่งน้ำอะไร ที่ไหน
สะพานโกลเด้นเกตที่อ่าวซานฟรานซิโก 

แม่น้ำชีที่จังหวัดชัยภูมิ

      ➨ จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันประกอบเครื่องสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่ตนเองวาดภาพขึ้นมา โดยมีอุปกรณ์  3 อย่างคือ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษA4 เทปกาว แต่ละกลุ่มต้องทำเครื่องสูบน้ำที่แข็งแรงสามารถตั้งได้ และสูบน้ำได้มากที่สุด โดยอาจารย์ให้นำหนังสือและพานมาวางเพื่อทดสอบความแข็งแรง 
    ➤ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการประยุกต์การใช้รูปแบบการสอนแบบ STEM ศึกษาเข้ามาบูรณาการในการจัดการสอน คือการให้เด็กฝึกคิดแก้ไขปัญหาและออกแบบนวัตกรรม



       ➨ จากนั้นอาจารย์ให้อุปกรณ์มาเพิ่มคือ หลอดดูดน้ำ และลูกปิงปอง เพื่อให้นักศึกษาออกแบบสไลเดอร์ที่ลูกปิงปองตกช้าที่สุด โดยกลุ่มของดิฉันนานสุด คือ  34 วินาที





💜 การตั้งเกณฑ์ น้ำจืด/น้ำเค็ม  แหล่งน้ำในประเทศ /แหล่งน้ำต่างประเทศ  แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น/ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
💜 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ขั้นนำสามารถเริ่มต้นด้วยเพลง คำคล้องจอง นิทาน ปริศนาคำทาย เกม คำถาม  เพื่อทบทวนประสบการณ์ของเด็กก่อนการเข้าสู่เรียนที่จะเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
1. ได้รู้จักเกมการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้นและรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะตามพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ไม่รู้สึกเบื่อ หรือหากเกมยากไปก็จะได้ปรับให้เข้ากับพัฒนาการของเด็ก

2. รู้จักการประยุกต์ใช้การสอนแบบ STEM ศึกษาในการสอนกับระดับปฐมวัย จากเรื่องที่ง่ายๆ และใกล้ตัวจากสิ่งของที่มีอยู่ เช่น หลอด ลูกปองปอง การประดิษฐ์สิ่งต่างๆ โดยมีจุดประสงค์คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดและการแก้ปัญหา
3. เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว เช่นกระดาษหนังสือพิมพ์
4. ฝึกการคิดแก้ไขปัญหาและรับฟังความคิดของเพื่อน เลือกวิธีที่ดีที่สุด
5. มีความสนุกสนานเมื่อทำงานสำเร็จ มีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และรู้จักชื่นชมผลงานของตนเองลแะผู้อื่นโดยใช้คำพูดและการแสดงออกเชิงบวก

การประเมิน (Assessment)
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนมีความตรงต่อเวลา แตงกายสุภาพเหมาะสม อาจารย์ได้มีการประยุกต์วิธีการสอนแบบต่างๆ เช่น STEM มาบูรณาการกับการสอนปฐมวัยใช้สื่ออุปกรณ์ใกล้ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเรื่องที่สอนมากขึ้น ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์ได้มีการเสริมเนื้อหาสาระเรื่องต่างๆ สอดแทรกพร้อมกันด้วย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แต่วันนี้มาไม่ครบ ทำให้แบ่งกลุ่มได้เพียง 3 กลุ่ม แต่เพื่อนที่มาเรียนตั้งใจเรียนทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำงาน ระดมความคิดแก้ปัญหาและนำเสนองานออกมาดีทุกกลุ่ม


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสะอาด เหมาะสม ให้ความร่วมมือนการเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ในกลุ่มและช่วยการทำงานส่งอาจารย์




วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

 ⤍ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มเรียน เขียนแผนการสอนแบบ Project  Approach ตามกลุ่มที่ได้จัดไว้ตั้งแต่ต้นเทอม โดยเลือกเรื่องที่นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องเรียน 

  😀 นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มและทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย โดยใช้เทคนิคการระดมความคิด Brainstorming การทำแบบมีส่วนร่วม ด้วยข้อสรุปจากเหตุผลที่อยากรู้ (เพราะบางทีเสียงข้างมากไม่ใช่เหตุผล



ารเรียนรู้แบบ  Project  Approach มี 3 ระยะดังนี้

💛 ระยะที่ 1 เริ่มต้น เด็กๆ เลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้แนะนำ เด็กๆอภิปรายว่ามีความรู้เดิมอะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง และครูช่วยบันทึกความคิดของเด็กๆ เช่น วาดภาพ ปั้น จำลอง ช่วยให้เด็กฝึกตั้งคำถาม และสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้


      - สิ่งที่เด็กอยากรู้ อยากรู้เพราะอะไร สรุปเรื่องที่อยากรู้
      - ถามประสบการณ์เดิม วาดภาพสะท้อนประสบการณ์
      - คำถามที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ


💛 ระยะที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ ช่วยเด็กๆ วางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจมาให้คำตอบเด็กๆได้ ใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลโดยมีครูช่วยเหลือ 
   - เลือกใช้กราฟฟิกที่หลากหลายและเข้าใจง่ายสำหรับเด็ก