วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

            ➤ อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการสอนแบบต่าง ๆ  5 แบบ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย นักศึกษาได้ทำงานร่วมกันและนำประสบการณ์การออกสังเกตจากโรงเรียนต่างๆมานำเสนอ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ 
💚การสอนแบบไฮสโคป💚
                การสอนแบบไฮสโคปเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยให้เด็กเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง
                 Active learning  คือการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติสิ่งแวดล้อมไม่เน้นลักษณะของสื่อที่เป็นแบบฝึกหัด  เพราะต้องการเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงจากของเล่นจริง เรื่องการปฏิสัมพันธ์เน้นว่าคนที่ต้องดูแลเด็กก็ต้องเข้าใจพัฒนาการเด็ก มีความรู้ ทางด้านจิตวิทยา การมีปฏิสัมพันธ์ทางบวก และสอนเด็กให้รู้จักการแก้ไขข้อขัดแย้ง
คำแนะนำจากอาจารย์ : ปรับปรุงการนำเสนอให้ดีขั้น ควรนำสื่อ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนำเสนอ 

💚การสอนแบบไฮสโคป กลุ่มที่ 2💚 

คำแนะนำจากอาจารย์ :  นำเสนอได้ดี เนื้อหาดีครบถ้วน  รู้จักใช้สื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลาย เข้าใจง่าย

💚 การสอนแบบ project approach💚 
            การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

💙การนำแนวคิดการสอนแบบโครงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน💙
                ในระดับปฐมวัยศึกษา หรือการสอนแบบโครงการจะปรากฏกิจกรรม  5  ลักษณะในแต่ละระยะของการทำโครงการ  ซึ่งเสมือนขั้นตอนการสอนแบบโครงการกิจกรรมทั้ง  ลักษณะประกอบด้วย
1.การอภิปราย  ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละ
คนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน

2.การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม  เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำ
โครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน

3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม  เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่

น่าสนใจ มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน



4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัว

เรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่  ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน  สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่

 5.การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของ

เด็ก เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น



      💜ลักษณะทั้ง  5  ประการดังที่กล่าวมา จะปรากฏในแต่ละระยะของงานโครงการ ซึ่งมีอยู่
3  ระยะ  คือ 💜

ระยะที่เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก

ระยะที่พัฒนาโครงการ :ให้โอกาสเด็กค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่เป็นงานในภาคสนาม  ประกอบด้วยการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ

ระยะที่ 3  สรุปโครงการ :  ประเมิน สะท้อนกลับ  และแลกเปลี่ยนงานโครงการเป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดงการค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่าง ๆ สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ  หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้างครูควรจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น

💚 การสอนแบบ STEM 💚
         คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน 
     💛สิ่งที่ได้จากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม💛ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้เครื่องมือ ความคิดสร้างสรรค์ 
ตัวอย่างการสอนแบบสเต็มที่อาจารย์แนะนำ   หน่วยผลไม้ ปัญหาตระกร้าพัง  ให้เด็กทำตระกร้า โดยมีวัสดุให้ แล้งลงมือทำตามแบบ เมื่อเสร็จแล้วทดลองนำตระกร้าไปใช้ และตรวจสอบความถูกต้อง 
                       😅😅ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน😅😅


💙💙 การประเมิน (Assessment) 💙💙

ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อาจารย์ใส่ใจการนำเสนอทุกกลุ่ม ให้คำแนะนำที่กระชับเข้าใจง่าย เพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดได้ดี 

ประเมินเพื่อน     เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้อาจารย์นัดเรียนรวม 2 เซก ทำให้เพื่อนเซกบ่ายต้องมาเรียนเช้า ทุกคนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์

ประเมินตนเอง   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ส่งงานครบ ให้ความร่วมมือในห้องเรียนดีมากค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     ➩ อาจารย์ให้ตัวแทนนักศึกษาของแต่ละกลุ่มทดลองสอนโดยใช้แผนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามหน่วยต่าง ที่ตนเองได้เขียนและออกแบบกิจกรรมขึ้นมาเอง เพื่อให้คำแนะนำในการสอนและให้นักศึกษานำไปแก้ไขและปรับปรุงในมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการฝึกสอน
กิจกรรมพื้นฐาน
แบบที่ 1 การเคาะแบบฟังจังหวะ มีทั้งหมด 3 จังหวะ คือ เคาะจังหวะปกติ - เคาะจังหวะช้า - เคาะจังหวะเร็ว - และเคาะ 2 ครั้งติดกัน (หยุด)
แบบที่ 2 การเคาะแบบกำหนด  เคาะ 1 ครั้ง , เคาะ 2 ครั้ง , เคาะ 3 ครั้ง , เคาะแบบรัวๆ ,และเคาะแบบ 2 ครั้งติดกัน (หยุด)  
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาควรสอดคล้องกับกิจกรรมพื้นฐาน เช่น กิจกรรมพื้นฐานกำหนดให้เด็กกระโดด กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาควรให้เด็กกระโดดเพราะทั้ง 2 กิจกรรมจะมีความสัมพันธ์กัน 
นางสาวปวีณา พันธ์กุล กิจกรรมเคลื่อนไหว หน่วยช้าง
The teacher commented
- เคาะจังหวะควรเริ่มจากจังหวะปกติ ช้า และเร็วตามลำดับ 
- ครูควรฝึกใช้คำพูดที่กระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย
- ให้เด็กๆหาพื้นที่ของตนเอง โดยระวังไม่ให้ชนกัน และเคลื่อนไหวเป็นช้างหรือเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับกิจกรรมพื้นฐาน
นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้  กิจกรรมเคลื่อนไหว หน่วย หน้าที่ของฉัน
The teacher commented
- พูดกำหนดสัญญาณให้มีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
- กำหนดมุมต่างๆ และพื้นที่ให้ชัดเจน
- เคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับกิจกรรมพื้นฐาน


⏩วีดีโอการสอน ⏪
😀กิจกรรมเคลืื่อนไหวตามข้อตกลง หน่วย หน้าที่ของฉัน😀

                         

💦 การประเมิน (Assessment) 💦

ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาและสั่งงานระเอียดเข้าใจง่าย พูดคุยกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง หลังจากที่ทอลองสอนอาจารย์ได้ให้คำแนะนำซึ่งเป็นประโยชน์มากในการนำไปใช้ในอนาคต
ประเมินเพื่อน    เข้าเรียนตรงเวลา มาครบทุกคน ไม่คุยกัน ตั้งใจฟังอาจารนย์สอน

ประเมินตนเอง   มาเรียนตรงเวลา  ส่งงานครบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องและกิจกรรมกลุ่มดีค่ะ

😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

สมรรถนะ ( Competency )  หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้น ๆ สามารถปฏิบัติงานได้ผลโดดเด่นกว่าคนอื่น โดยบุคคลนั้นแสดงออกทางคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเทคนิควิธีที่ดีกว่าคนอื่น ๆ พฤติกรรมที่แสดงออก
        โดยแบ่งสมรรถนะด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยไว้ 7 ส่วนหลัก (Domain) ได้แก่ 
1. การเคลื่อนไหว และสุขภาวะทางกาย (Motor Development /Physical Well – Being)
2. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)
4. พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา (Cognitive Development)
5. พัฒนาการด้านภาษา (Language Development)
6. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development
7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์ (Creative Development)
    💛 ในแต่ละส่วนหลักประกอบด้วย ส่วนย่อยสมรรถนะด้านต่างๆ และพฤติกรรมบ่งชี้ โดยจำแนกออกเป็นเนื้อหา ด้านต่างๆ

👉 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 👈
ประสบการณ์สำคัญ ด้านร่างกาย การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ และ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
                                                          ⬇️                                                 ⬇️
                                              ทำอยู่กับที่ โยก สบัด           เดิน วิ่ง กระโดด สไลด์  ควบม้า
                             ด้านอารมณ์-จิตใจ การเคลื่อนไหวตามจังหวะ เสียงเพลง ดนตรี 
                            ด้านสังคม  การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน การเล่นและการทำงานร่วมกัน
                            ด้านสติปัญญา การคิด การจำ
➤ เป้าหมายของกิจกรรมเคลื่อนไหว วิธีการสอน 5 แบบ ได้แก่ การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม การเคลื่อนประกอบเพลง 
➤ จัดกลุ่มใหญ่/กลุ่มย่อย เพื่อส่งเสริมกระบวนการกลุ่ม ส่งเสริมทัะกษะทางสังคม เช่น การแสดงความคิดเห็น การพูดคุย เด็กจะได้กระบวนการคิด ภาษา การออกแบบท่าทาง
กิจกรรมเคลื่อนไหว ➽ กิจกรรมพื้นฐาน ให้เด็กได้หาพื้นที่ของตนเอง (บูรณาการคณิตศาสตร์) การหาพื้นที่
                            ➽ กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา กำหนดพื้นที่ตามข้อตกลง วัตถุประสงค์คือการจำ
😀😀😀😀 อาจารย์ให้ออกแบบกิจกรรมพื้นฐานของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตามหน่วยของตนเอง โดยให้ออกแบบมีความหลากหลาย จากนั้นอาจารย์ได้ให้นำแผนการสอนที่เขียนมาสอนเพื่อนให้ห้องเพื่อทดสอบการนำแผนไปปฏฺบัติและเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนนำไปปฏิบัติจริง ระหว่างที่เพื่อนสอนอาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการสอน เทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปปรังปรุงแก้ไขในออกฝึกปฏิบัติจริง 




   💜 จากนั้นได้มอบหมายงานให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้ทดลองสอน ถ่ายคลิปการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวลงในบล็อกของตนเอง 
                            
💙💙 การประเมิน (Assessment) 💙💙

ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา จัดเตรียมเนื้อหาการสอนดี อธิบายเนื้อหาชัดเจน พร้อมเน้นย้ำให้นักศึกษาสามารถจำได้ ระหว่างสอนมีการพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยน ตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน     เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้อาจารย์นัดเรียนรวม 2 เซก ทำให้เพื่อนเซกบ่ายต้องมาเรียนเช้า ทุกคนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์

ประเมินตนเอง   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ส่งงานครบ ให้ความร่วมมือในห้องเรียนดีมากค่ะ



 😆😆 kind song 😆😆