วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

             💛 หลังจากที่ได้แบ่งกลุ่ม 5 คน ไปแล้วเมื่อสัปดาห์แรก วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดย โดยเลือกสาระที่ควรเรียนรู้จากเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กที่สุดและเรื่องที่ส่งผลกระทบกับเด็ก  โดยสาระที่ควรเรียนรู้มีทั้งหมด 4 สาระ คือ 
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 
  เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี  ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว

2. เรื่องบุลคลและสถานที่
   เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง  หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

3. เรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก
   เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่นฤดูกาล กลางวัน กลางคืน 

4. เรื่องสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
   เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ของเด็ก 






สาระที่ควรเรียนรู้  คือ  ความรู้
ประสบการณ์สำคัญ  คือ  ประสบการณ์ที่ประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา


😀 มาตรฐาน คือ เป้าหมาย ทำให้ครูสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นเพราะมีทิศทางและเป้าที่ชัดเจน
การประเมินพัฒนาการที่เน้นการสังเกต และออกแบบการสอนให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่สามารถสังเกตและประเมินได้ว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่

👉จากหน่วย สุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวหนู ได้แก้ไขเป็นหน่วยตัวเรา👈
        
      ➤ จากนั้นอาจารย์ให้สมาชิกในกลุ่มตกลงกันและแบ่งหัวข้อกันเพื่อนำเสนอเป็นวันคือวันจันทร์-ศุกร์ ร่างเป็น mindmap เพื่อออกแบบกิจกรรมสอนผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ก่อนจะเขียนแผนการสอนฉบับจริง

หน่วย ตัวเรา หัวข้อ หน้าที่ของฉัน
กิจกรรมเสรี ➤ เล่นอิสระตามมุมต่างๆ

กิจกรรมกลางแจ้ง ➤ เล่นเกมหน้าที่เด็กดี ให้เด็กกระโดดออกมาข้างหน้าเมื่อโดดเรียกชื่อแล้วบอกหน้าที่หรือความดีที่ได้กระทำ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ➤ สนทนาหน้าที่ของเด็กๆ และหน้าที่ของสมาชิกในบ้าน

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  เคลื่อนไหวตามข้อตกลง กำหนดให้ มุมบ้าน ทำท่าทางกวาดบ้าน มุมบล็อกทำท่าทางเก็บของเล่น มุมหนังสือทำท่าทางไปโรงเรียน

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์➤ วาดภาพหน้าที่ของเด็กๆด้วยสีเทียนแล้วออกมานำเสนอ

กิจกรรมเกมการศึกษา  ➤ เกมจับคู่ภาพเงาหน้าต่างๆ และจิ๊กซอร์ต่อภาพหน้าต่างๆในบ้าน




💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙

การประเมิน (Assessment)

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาที่จะเรียนและรายละเอียดต่างๆ ได้ครบถ้วน 
พูดคุยสนทนาเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดและการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ฟังใจฟังอาจารย์ กระตือรือร้นในการเรียน มีความสามัคคีร่วมมือกันในการทำงาน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียน ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์  ช่วยเพื่อนทำงาน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)
 💓 23 กันยายน 2562 เรียนชดเชยวันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2562 วันแม่แห่งชาติ 
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรมการสอนแบบต่างๆ ของกลุ่มที่ยังไม่นำเสนอและกลุ่มที่มีการแก้ไขปรับปรุง

การสอนแบบไฮสโคป
💗💗 การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
   👉การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
  👉การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
  👉การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ
            การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน  การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อน
อย่างมีความสุข
สรุป  การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ ( Key  experience ) ที่เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด
        การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ
            ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น
การสอนแบบมอนเตสซอรี่
 👉 Montessori Method  คิดค้นและจัดตั้งขึ้นโดย แพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Dr.Maria Montessori) ซึ่งมีปรัชญาว่าจิตที่เกิดมาพร้อมกับเด็กได้กำหนดลักษณะนิสัยของเด็กมาก่อน แต่สภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับการเรียนสำหรับเด็ก จะช่วยส่งเสริมสิ่งที่เด็กมีอยู่ในตัว ดังนั้นการศึกษาในระยะเริ่มต้นของเด็กควรได้รับปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติและความต้องการของเขา ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น
หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
➤ พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
➤ ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาท
สัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้
➤ การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิต เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี 
ครูต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
➤ การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง 
มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง
➤ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง
ในการเรียนเพิ่มขึ้น
กิจกรรมมอนเตสซอรี่ มี 3 กลุ่ม
➨ กลุ่มประสบการณ์ชีวิต ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีสมาธิ เป็นตัวของตัวเอง และได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ 
➨ กล้ามเนื้อมัดเล็กกลุ่มประสาทสัมผัส ฝึกให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม
➨ กลุ่มวิชาการ (คณิตศาสตร์และภาษา) ปูพื้นฐานความรู้เรื่องจำนวนตัวเลขการอ่านและการเขียน เด็กจะได้เรียนรู้อย่าเป็นขั้นตอนจากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่ เป็นสื่อ
การเรียนแบบมอนเตสซอรี่จะเน้นแบบคละอายุ ให้ช่วงอายุห่างกันประมาณ 3 ปี มีทั้งเด็กที่อายุมากกว่า เท่ากัน และน้อยกว่า เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จุดประสงค์ ก็เพื่อให้เด็กช่วยเหลือกัน ไม่มีการแข่งขันกันในห้องเรียน
สิ่งที่เด็กจะได้จากการสอนของโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
💙💙  เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของพัฒนาการแห่งวัย มีอิสรภาพในการเลือกสิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการในความรู้สึกของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของชีวิต
 💙💙 
เด็กมีสิทธิในการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาในการเรียนมีอิสระในการทำกิจกรรม สำรวจโลกสำหรับตัวของเขาเองเด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเอง และความรู้สึกของความรับผิดชอบเด็กจะมีวิธีการควบคุมตนเองและเรียนรู้ในการรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเบื้องแรก แล้วก็ต่อสภาพการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เขาได้พบตัวของเขาเอง
การสอนแบบProject Approach
            ะยะที่ 1 เด็กเลือกเรื่องที่สนใจอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้เล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เด็กร่วมกันตั้งคำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น เด็กเลือกคำถามและนำคำถามมาจัดในรูปของแผนภูมิใยแมงมุม (Web)
            ระยะที่ 2 เด็กช่วยกันหาคำตอบเป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคล ด้วยการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เด็กได้วางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้โดยครูเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือในการทำกิจกรรมให้เด็กได้ค้นพบคำตอบ
            ระยะที่ 3 เด็กทบทวนและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ไปสู่บุคคลภายนอกด้วยการจัดนิทรรศการผลงานทั้งของกลุ่มและของรายบุคคล และเชิญคุณครู ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียนชั้นอื่น เข้าชมนิทรรศการ เด็กนำเสนอผลงาน ตอบข้อซักถามและสรุปผลโครงงานตั้งแต่เริ่มโครงงานจนจบโครงงาน
     เกณฑ์การประเมินโครงงานสำหรับเด็กปฐมวัยไว้ว่าควรจะมีเกณฑ์การประเมินในเรื่องต่อไปนี้ กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาของเด็ก การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ การนำเสนอด้วยวาจา การตอบคำถาม และแผงโครงงานความยากสำหรับครูอย่างหนึ่ง คือ การให้ความสำคัญกับโครงงานที่ซับซ้อนหลายโครงงาน ในขณะที่ต้องคอยสนใจการเรียนของนักเรียนแต่ละคนไปด้วย ดังนั้นครูต้องใช้วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักเรียนของตน รวมถึงต้องจัดการดูแลโครงงานต่างๆ อย่างใกล้ชิดด้วย
การสอนแบบ EF (Executive Functions) 
E F  ( Executive Function )  การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต "ฟังดูน่าสนใั้จมาก"โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) สรุปคือ เป็นความสามารถในการควบคุมความคิของตนเองนั่นเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน
EF ( Executive Function )  ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) ทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 
คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
การสอนแบบ Waldorf
 👀 เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรรมต่างๆ โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ
💓 จุดเด่นของโรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ
การเคลื่อนไหวตามมนุษยปรัชญา เพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ เป้าหมายของการศึกษาวอลดอร์ฟคือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตัวเอง
  💚💚 
การศึกษาแนววอลดอร์ฟนี้จึงเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาล โดยมีมุมมองว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นการสอนให้รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก โดยผ่านกิจกรรม 3 อย่างคือ กิจกรรมทางกาย ผ่านอารมณ์ความรู้สึก และผ่านการคิด เน้นการให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ด้านศิลปะ และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะ


วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)

👉คำศัพท์ในรายวิชา👈
1.วิธีการสอน     ⟹  Teaching methods
2.ซึบซับ     ⟹  Assimilation
3.รับรู้     ⟹  Acknowledge
4.ปรับโครงสร้าง     ⟹ Accomodation
5.รูปแบบการสอน     ⟹ Teaching Model
                      ➨  การจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ควรเลือกเนื้อหาที่สอดคล้องกับพัฒนาการ เพราะพัฒนาของเด็กจะกำหนดว่าเด็กในวัยนั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง
                      ➨ เด็กมีประสบการณ์กับเนื้อหาด้วยการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นคือการเล่น การเล่นคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก (ประสบการณ์สำคัญสอดคล้องกับการทำงานของสมอง) เมื่อเด็กได้เล่นประสบการณ์จะถูกบันทึกและซึมซับไปยังสมอง (Assimilation)  ความรู้เกิดการทับซ้อนกันและถูกบันทึกเป็นความรู้ใหม่  
ยกตัวอย่าง กรณีการหยดสี สีแดง กับ สีเหลือง เกิดเป็นสีใหม่คือสีส้ม
      ➤ เมื่อรับรู้แต่ไม่นำไปใช้ คือ การรับรู้  เช่น เด็กรับรู้ว่าตุ๊กตาแมวแตกต่างจากแมวจริง
      ➤ เมื่อรับรู้แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือ การเรียนรู้ เรียนรู้เพื่อความอยู่รอด
การเลือกเนื้อหาควรเลือกให้สอดคล้องกับพัฒนาการและประสบการณ์สำคัญ ออกแบบให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ คือ การเล่น 
ตัวช่วยในการออกแบบการสอน
- รูปแบบการสอน คือ รูปแบบสำหรับการสอน ซึ่งจะบอกถึง ลำดับ ขั้นตอน การเตรียมการ การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ของการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์การ เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ตามเป้าหมายหรือผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของรูปแบบการสอนนั้นๆ
- วิธีการสอน  คือ วิธีการปฏิบัติตามหลักขั้นตอน 


😀😀😀เพลงสำหรับเด็ก😀😀😀

เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก
หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน * ซ้ำ
รู้จักพากเพียรขยันเรียนเอย


เพลง ไปโรงเรียน
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน ลั่นลัล ลัลลา ลัลหล่า ลั่น ลันลา ลั่นลัลลา

เพลง วันเวลา
 1 ปีนั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน 
อาทิยต์  จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

เพลง ล้างมือ 
ล้างมือเสียก่อน
ก่อนจะกินอะไร
ล้างมือเข้าไว้
เราปลอดภัยสะอาด
ล้างมือเสียก่อน 3 ครั้ง

เพลงอาหาร 
อาหารสุกๆ ผักสะอาด
ฉันไม่พลาดกินจนอิ่ม
                                                                             หน้าตาแย้มยิ้ม กินให้อิ่มกินข้าวจนหมด

เพลง มากินข้าวสิ
มากินข้าวสิ ๆ
กับดี ๆ
มีทั้งแกงและต้มยำ ๆ
อำ อ่ำ อำ ๆ

เพลง แปรงฟัน
แปรงสิแปรงๆฟัน
ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดดีเมื่อแปรงฟัน



เพลง สวดมนต์
นั่งขัดสมาสให้ดี
สองมือวางทับกันทันที
หลับตาตั้งตัวตรงสิ
ตั้งสติให้ดี
ภาวนาในใจ พุทโท ๆ ๆ





เพลง ลาก่อน
ลาแล้วลาก่อน
หนูรักคุณครู
คิดถึงคุณครู
ลาแล้ว ลาก่อน
สวัสดีคุณครู




คัดหัวกลมตัวเหลี่ยม ก-ฮ

💙💙 การประเมิน (Assessment) 💙💙

ประเมินอาจารย์   อาจารย์อธิบายเข้าใจดี มีการยกตัวอย่างประกอบพร้อมกับระหว่างที่สอนอาจารย์จะให้ทำกิจกรรมไปด้วยทำให้ไม่เบื่อตื่นเต้นตลอดเวลา สนุกมากๆ

ประเมินเพื่อน    เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีมาก ให้ความร่วมมือในการร้องเพลง

ประเมินตนเอง   วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับอาจารย์เรียนสนุกได้ฝึกร้องเพลงเด็ก ทำให้ไม่น่าเบื่อ


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
Learning Provision in Eaelr Childhood Education
วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30-12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Story of subject)
วันแรกของการเปิดภาคเรียน อาจารย์ได้ปฐมนิเทศและพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของเนื้อหาต่าง ๆในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย เกณฑ์การให้คะแนนและชิ้นงานที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ปฏิบัติตลอดเทอม 


    ➤ จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อนำเสนอแผนการสอน 5 วัน อาจารย์ได้สนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์และความรู้สึกหลังจากที่ได้ออกไปสังเกตการณ์สอนในระยะเวลา 15 ที่ผ่านมา และได้ให้คำแนะนำต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขในการออกสังเกตครั้งต่อไป


การประเมิน (Assessment)

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาที่จะเรียนและรายละเอียดต่างๆ ได้ครบถ้วน เข้าใจง่าย พูดคุยสนทนาเป็นกันเองเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิด

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ฟังใจฟังอาจารย์ กระตือรือร้นในการเรียน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียน ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์